หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
เทศบาลตำบล กลางเวียง ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
“เทศบาลตำบลกลางเวียงเป็นเมืองน่าอยู่
มีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
นายกิตติกร กุมมาละ
นายกเทศมนตรีตำบลกลางเวียง
วิสัยทัศน์ ทต.กลางเวียง
สำนักงานเทศบาลตำบลกลางเวียง
เรือหัวพญานาค
อ่างเก็บนํ้า ห้วยฮิ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลกลางเวียง
ทต.กลางเวียง
1
2
3
 
 

การประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
 
 
LPA ปี พ.ศ.2562
3.3 การตรวจประเมินความพึงพอใจและแรงจูงใจ
ข้อ URL คำอธิบาย
1) การตรวจประเมินความพึงพอใจและแรงจูงใจนั้น จะต้องครอบคลุมข้าราชการและลูกจ้างทุกสำนัก/กอง
- องค์กรมีการตรวจประเมินความพึงพอใจ และแรงจูงใจของข้าราชการ ทั้งในด้านการบริหารของผู้บริหาร การบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคล การจัดการสภาพแวดล้อมในการทำงาน และแรงจูงใจของข้าราชการ
- ผู้บริหารนำผลการประเมินฯ มาปรับปรุงเพื่อสนับสนุนการทำงาน
- ผู้บริหารมีการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
3.4 การจัดสถานที่ทำงาน การพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการในสถานที่ทำงาน
ข้อ URL คำอธิบาย
1) มีการจัดพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจน
2) สภาพของหน้าต่าง ประตู ขั้นบันได ราวบันได อยู่ในสภาพดีและสะอาด
3) อุปกรณ์และหลอดไฟฟ้าตามที่ต่าง ๆ อยู่ในสภาพดีและสะอาด
4) ตู้เก็บของหรือชั้นวางอยู่ในสภาพดีและสะอาด ติดป้ายแสดงประเภทเอกสารหรือสิ่งที่จัดเก็บ
5) ห้องน้ำได้มาตรฐานสาธารณะ เช่น มีการระบายอากาศ แสงสว่างเพียงพอ ไม่มีกลิ่น ไม่สกปรก
6) การเดินสายไฟเป็นระเบียบ สายไฟอยู่ในสภาพดีและปลอดภัย
7) วัสดุอุปกรณ์ รถยนต์ อยู่ในสภาพดี
8) มีถัง/อุปกรณ์ดับเพลิงที่ไม่หมดอายุพร้อมใช้งานและติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่สามารถนำมาใช้ได้ทันที
9) มีที่รองรับมูลฝอยเพียงพอ มีฝาปิดมิดชิด
10) มีตู้ยาชุดปฐมพยาบาล
3.5 จำนวนกิจกรรมเพื่อการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีให้กับบุคลากรภายในองค์กร
ข้อ URL คำอธิบาย
1) ข้อบัญญัติ,หลักฐานการเบิกจ่าย (กรณีที่ต้องมีการใช้งบประมาณในการจัดกิจกรรม) เช่น กิจกรรมการเล่นกีฬาระหว่างผู้บริหารกับบุคลากรใน อปท. ที่ผู้บริหารร่วมกับบุคลากรทำกิจกรรมร่วมกัน ฯลฯ
2) รายละเอียดโครงการ, กิจกรรม
3) รูปภาพ
หมวดที่ 4 ประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรบุคคล
4.1 การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรเพื่อประกอบการบริหารงานบุคคลในเรื่องต่าง ๆ
ข้อ URL คำอธิบาย
1) ต้องมีการประเมินถูกต้องตามประกาศ ก. จังหวัดภายใต้หลักเปิดความโปร่งใสมีประสิทธิภาพ
2) ระบบเปิด หมายถึง มีการแจ้งผลการประเมินให้ผู้ถูกประเมินทราบหรือเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมให้ข้อคิดเห็น
3) ให้ตรวจสอบแบบประเมินผลการปฏิบัติงานและรายงานกระประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์
4.2 การประเมินผลการฝึกอบรม
ข้อ URL คำอธิบาย
1) การฝึกอบรม หมายถึง รวมถึงการฝึกอบรมที่ท้องถิ่นดำเนินการเองหรือส่งบุคลกรไปรับการฝึกอบรม
2) การติดตามและประเมินต้องมีระบบตรวจสอบเพื่อทราบถึงความสำเร็จของการพัฒนาความรู้และผลการปฏิบัติงานของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
3) โครงการฝึกอบรมให้ตรวจสอบทุกโครงการและต้องมีการดำเนินการภายใต้เกณฑ์การประเมินที่กำหนดอย่างครบถ้วน
4) ผลการประเมินต้องรายงานให้ผู้บริหารท้องถิ่นทราบ
5) หลักสูตรที่เข้าอบรมจะต้องมีการประเมินก่อนและหลังการอบรมโดยหน่วยที่จัดอบรมต้องแจ้งผู้บริหารท้องถิ่นทราบผลการอบรม
4.3 การสร้างองค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
ข้อ URL คำอธิบาย
ตรวจสอบหลักฐานได้แก่
1) สื่อประชาสัมพันธ์ คู่มือ และบันทึกแจ้งเวียน
2) การประชุมอย่างเป็นทางการ/ไม่เป็นทางการเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้
3) กิจกรรมที่ดำเนินการต่าง ๆ
4) การตั้งงบประมาณ
5) การส่งบุคลากรเข้ารับการอบรม
1) มีการส่งเสริมการเรียนรู้ในระบบหรือนอกระบบให้แก่บุคลากร
การสร้างองค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีการดำเนินการดังนี้
2) มีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของข้าราชการ/พนักงานส่วนท้องถิ่นภายในองค์กร เช่น สรุปข้อมูลข่าวสาร จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน เป็นต้น
3) มีการศึกษาวิจัยระบบการบริหารงานขององค์กรเพื่อรับทราบปัญหาหรือเพื่อพัฒนาการบริหารงาน
4) มีการจัดทำโครงการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สร้างความผูกพันในองค์กร และสร้างแรงจูงใจให้ข้าราชการทำงานได้ตามระเบียบ
5) มีการสรุปผลการประเมินผลการดำเนินการตามโครงการเรียนรู้โดยระบุข้อเสนอแนะการปรับปรุงหรือการพัฒนาเพื่อการเรียนรู้ขององค์กร
6) มีการเตรียมการพนักงานเพื่อเตรียมการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีหรือปรับโครงสร้างงาน สภาพแวดล้อมการทำงาน
4.4 การจัดองค์ความรู้ในองค์กร
ข้อ URL คำอธิบาย
การจัดองค์ความรู้ในองค์กร (Knowledge Management : KM) การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองรวมทั้งปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
คำอธิบายเพิ่มเติม
การจำแนกความรู้นั้น ได้แก่ ความรู้ด้านแผนงาน การบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การคลัง หรืออื่น ๆ ี่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานและพัฒนาท้องถิ่นให้เข้มแข็ง
1) จำแนกความรู้จำเป็นต่อการผลักดันความสำเร็จ ในงานทั้งที่เป็นงานประจำหรือยุทธศาสตร์ขององค์กร
2) จัดทำแผนจัดการความรู้ ประกอบด้วย กิจกรรม ระยะเวลา กลุ่มเป้าหมาย ตัวชี้วัด เป้าหมายตัวชี้วัดและผู้รับผิดชอบ
3) มีการประชุมส่วนราชการเพื่อวิเคราะห์หรือจัดทำเป็นแผนงาน
4) ดำเนินการตามกิจกรรมที่กำหนด
5) สรุปรายงานผลการดำเนินกิจกรรม
6) นำผลสรุปเสนอผู้บริหารทราบ
7) ดำเนินการวิเคราะห์ สรุปผลการดำเนินงาน เพื่อปรับปรุงหรือพัฒนาแผนจัดการความรู้
8) ประชาสัมพันธ์การจัดองค์ความรู้ และรับฟังความคิดเห็นของข้าราชการ-พนักงานจ้าง
 
<< หน้าแรก...     4      5      6      7     (8)     9      10      11      12     ....หน้าสุดท้าย >> 34
 
 
 
 
 
เริ่มนับ วันที่ 20 ม.ค. 2558
 
 
 
รับเรื่องร้องเรียน
โทร : 054-718-064